การถูกแดดอย่างปลอดภัย



     ตามรายงานของ EPA (Environmental Protection Agency) ประเทศสหรัฐอเมริกา ในทศวรรษที่ 1980 นักวิทยาศาสตร์ได้รวบรวมหลักฐานพบว่า ชั้นโอโซนซึ่งป้องกันสิ่งมีชีวิตจากรังสีอัตราไวโอเลตเริ่มลดลงเนื่องจากการ ใช้สารเคมีบนโลก ตามประมาณการของหน่วยงาน The National Aeronautics and Administration ระบุว่าชั้นโอโซนเริ่มลดลงในอัตราร้อยละ 4-6 ในทุก 10 ปี ซึ่งหมายความว่ามีรังสีอัลตราไวโอเลตสู่พื้นโลกและสู่ร่างกายมนุษย์มากขึ้น ตามลำดับ อันตรายของรังสีอัลตราไวโอเลตในช่วงเวลา สั้นทำให้เกิดผิวเกรียมแดด และปวด ในช่วงเวลานานอาจทำให้เกิดฝ้า ผิวแก่ก่อนวัย ต้อกระจก ปัญหาตา มะเร็งผิวหนัง และระบบภูมิต้านทานของร่างกายลดลง

ข้อแนะนำ 7 ขั้นตอนเพื่อการถูกแดดอย่างปลอดภัยโดยผู้เชี่ยวชาญจากองค์กรต่าง ๆ จำนวนมาก

ขั้นที่ 1 หลีกเลี่ยงแสงแดด
     การหลีกเลี่ยงแสงแดดเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง โดยเฉพาะช่วงเวลาระหว่า 10.00 - 15.00 น. ปริมาณรังสีอัลตราไวโอเลตมีความแตกต่างกัน ในแต่ละวัน ในแต่ละสภาพท้องถิ่น การออกจากที่ร่มจะทำให้ได้รับรังสีอัลตราไวโอเลตมาก กรณีท้องฟ้ามีเมฆปกคลุม เมฆสามารถขัดขวางรังสีอัลตราไวโอเลต ได้เพียงร้อยละ 20 เท่านั้น รังสีอัลตราไวโอเลตสามารถผ่านน้ำได้ ดังนั้นอย่าคิดว่าปลอดภัยจากรังสีอัลตราไวโอเลตถ้าอยู่ในน้ำและรู้สึกเย็น นอกจากนี้ต้องระมัดระวังโดยเฉพาะอย่างยิ่งบนหาดทราย และท่ามกลางหิมะ เพราะว่าหาดทรายและหิมะสะท้อนแสงอาทิตย์ได้ ทำให้เพิ่มปริมาณรังสีที่ได้รับ
     ผู้ที่มีผิวสีเข้มจะต้านทานต่อแสงแดดโดยเกิดผิวสีแทนซึ่งเป็นข้อบ่งชี้ว่า ผิวหนังได้รับบาดเจ็บ ผิวสีแทนเกิดเมื่อรังสี UV ถูกดูดกลืนเข้าสู่ผิวหนัง ทำให้เกิดการเพิ่มปฏิกิริยาและจำนวนเซลล์สร้างเม็ดสีเมลานิน เมลานินที่ถูกสร้างขึ้น ช่วยขัดขวางรังสีที่จะทำอันตราย ต่อผิวหนังได้ในระดับหนึ่ง
ผู้ที่มีสีผิวอุ่นการถูกแสงแดดมากเกินไปในระยะเวลาสั้นทำให้เส้นเลือดขยาย ตัว เป็นผลให้เกิดผิวเกรียมแดดมีอาการผิวสีแดง อ่อนตัวลง ปวด บวม และแตก The American Academy of Dermatology แนะนำให้แก้ไข โดยโปะด้วยความเย็น อาบน้ำเย็น ใช้ครีมบำรุงผิว และครีมไฮโดรคอร์ติโซน หากมีอาการรุนแรงมากขึ้น เช่น เป็นไข้หนาวสั่น กระเพาะอาหารปั่นป่วน และความคิดสับสน ให้รีบปรึกษาแพทย์

ขั้นที่ 2 ใช้ผลิตภัณฑ์ป้องกันแดด
     โลชั่น ครีม ขี้ผึ้ง เจล หรือ แท่งไข ที่มีฉลากระบุป้องกันแสงแดด (sunscreen) หรือขัดขวางแสงแดด (sunblock) เมื่อนำมาทาผิว จะดูดซึม สะท้อน หรือกระจายแสงรังสีอัลตราไวโอเลตบางส่วนหรือทั้งหมด ผลิตภัณฑ์กันแสงแดดบางชนิดฉลากระบุใช้ได้กับรังสีอย่างกว้างขวาง สามารถป้องกันรังสีทั้งสองชนิดคือ UVA และ UVB นักวิทยาศาสตร์ปัจจุบันเชื่อกันว่ารังสี UVA และ UVB สามารถทำให้ผิวเกรียมแดดเป็นอันตรายต่อผิวหนัง และทำให้เกิดมะเร็งผิวหนัง ผลิตภัณฑ์ขัดขวางแสงแดด ขัดขวางรังสีอัลตราไวโอเลต ได้มากกว่าผลิตภัณฑ์ป้องกันแสงแดด สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ประเทศสหรัฐอเมริกา (US.FDA) กำหนดให้ผลิตภัณฑ์ป้องกันแสงแดด และผลิตภัณฑ์ขัดขวางแสงแดดทุกชนิดระบุฉลากค่า SPF (Sun Protection Factor) ตั้งแต่ 2 ขึ้นไป ค่า SPF มากผู้ใช้ก็สามารถอยู่กลางแสงแดดได้มาก ในปี 1993 US.FDA แนะนำให้ระบุค่า SPF ได้ไม่เกิน 30 เพราะหากค่า SPF มากกว่านี้ อาจจะให้ผลในการป้องกันแสงแดดได้เพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย แต่อาจทำให้ผู้ใช้ได้รับอันตรายจากสารเคมีป้องกันแสงแดดเพิ่มขึ้นมาก US.FDA ยังแนะนำบริษัทผู้ผลิตกรณีผลิตภัณฑ์ทนทานต่อน้ำ (water-resistant) ผลิตภัณฑ์ทนต่อเหงื่อ (sweat-resistant) ต้องระบุค่า SPF ทั้งก่อนและหลังการถูกกับน้ำหรือถูกกับเหงื่อ นอกจากนี้ US.FDA ยังเสนอแนะว่า ผลิตภัณฑ์ที่อ้างสรรพคุณขัดขวางแสงแดด ต้องมี SPF อย่างน้อย 12 และมีติตาเนียมไดออกไซด์ ซึ่งเป็นสารทึบแสง และขัดขวางแสงอัลตราไวโอเลตเป็นส่วนผสม นอกจากนี้ผลิตภัณฑ์ที่ทาผิวให้เป็นสีแทนในที่นี้หมายถึงสีเครื่องสำอางที่ทา ผิวหนังให้เป็นสีแทนซึ่งไม่มีสารกันแดดเป็นส่วนผสมต้องระบุฉลากว่าไม่มีสาร กันแดด ผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่าผลิตภัณฑ์ที่กันแสงแดดได้กว้างขวาง ต้องมี SPF อย่างน้อย 15 และแนะนำให้ทาผลิตภัณฑ์ให้ทั่วถึง โดยใช้ประมาณ 30 มิลลิลิตรต่อครั้งสำหรับคนรูปร่างปานกลาง และทำตามคำแนะนำของ The Skin Cancer Foundation คือ ทาทิ้งไว้ 15-30 นาทีทุกครั้งก่อนที่จะออกสู่แสงแดด โดยทาที่ผิวที่จะสัมผัสกับแสงแดดทั้งหมดให้ ทั่วรวมทั้งริมฝีปาก จมูก หู คอ หนังศรีษะ (หากมีผมบาง) มือ เท้า และ เปลือกตา แต่ต้องระวังมิให้เข้าตา เพราะจะทำให้เกิดระคายเคืองหากเข้าตาให้รีบล้างออกด้วยน้ำอย่างทั่วถึง

     ผลิตภัณฑ์กันแสงแดดต้องไม่ใช้กับทารกอายุน้อยกว่า 6 เดือน เพราะร่างกายทารกอาจไม่พัฒนาเพียงพอที่จะรับสารเคมีป้องกันแสงแดด หากต้องการใช้จำเป็นต้องปรึกษากุมารแพทย์ก่อน สำหรับเด็กอายุ 6 เดือนถึง 2 ปี ให้ใช้ผลิตภัณฑ์กันแสงแดดอย่างน้อยสุดมีค่า SPF 4 แม้ว่า SPF 15 หรือมากกว่าจะดีที่สุด

ขั้นที่3 สวมหมวก
     หมวกที่มีขอบรอบกว้างอย่างน้อย 3 นิ้วดีที่สุด เพราะสามารถป้องกันพื้นผิวที่ถูกแสงแดดบ่อยๆ เช่น คอ หู ตา และหนังศรีษะ สำหรับหมวกกันแสงแดด ซึ่งคล้ายหมากเบสบอล แต่มีส่วนที่ยื่นยาวประมาณ 7 นิ้ว ห้อยลงมาทั้งด้านข้างและด้านหลัง มีขายในร้านเครื่องกีฬา และเสื้อผ้าสำหรับออกกลางแจ้งก็ใช้ได้ดีเช่นกัน แม้ว่าหมวกเบสบอล หรือกระบังหมวกกันแสงแดดได้จำกัด แต่ก็ยังดีกว่าไม่สวมหมวก

ขั้นที่ 4 สวมแว่นตา
     แว่นตากันแดด จะต้องขัดขวางรังสี UVA และ UVB ได้ร้อยละ 99-100 จะทราบได้โดยตรวจสอบฉลากก่อนซื้อ การป้องกันรังสีอัลตราไวโอเลตได้จากสารเคมีที่มองไม่เห็นซึ่งทาที่เลนส์ไม่ ใช่จากสีหรือความเข้มของกระจกเลนส์ แว่นตากันแดดที่ขอบกว้างและปกคลุมดีที่สุดเพราะสามารถป้องกันตาได้จากทุกมุม เด็กๆควรเริ่มสวมแว่นกันแดดได้ตั้งแต่อายุ 1 ขวบแว่นตากันแดดของเด็กมีขนาดเล็กและมีคุณภาพเหมือนกับของผู้ใหญ่ มีขายในร้านขายแว่นตาต้องระมัดระวังไม่ใช้แว่นตากันแดดของเด็กเล่น The American Academy of Ophthalmology แนะนำให้ใช้ผลิตภัณฑ์สำหรับตาทุกชนิดตามใบสั่งแพทย์ รวมทั้งแว่นตา เลนส์สัมผัสและเลนส์ลูกตาที่ใช้ในการผ่าตัดต่อกระจกควรจะดูดซับรังสีอัลตรา ไวโอแลตได้

ขั้นที่ 5 ปกปิดร่างกาย
     เมื่ออยู่กลางแดด ให้สวมเสื้อแขนยาว กางเกงขายาว หรือกระโปรงยาวมาก ที่หลวมๆ และน้ำหนักเบา วัสดุทั้งหมดและสีควรดูดซับหรือสะท้อนรังสีอัลตราไวโอเลตได้ดี ควรใช้เนื้อผ้าที่ทออย่างแน่นที่สุด หลีกเลี่ยงการใส่เสื้อเปียก เช่นเสื้อยืดที่เปียก เพราะเมื่อผ้าเปียก รังสีอัลตราไวโอเลตสามารถผ่านทะลุได้ง่าย ถ้ามองเห็นแสงลอดผ่านผ้าแสดงว่ารังสีอัลตราไวโอเลตผ่านผ้านั้นได้เช่นกัน


ขั้นที่ 6 หลีกเลี่ยงการทำเทียมให้เกิดผิวสีแทน
     หลายคนเชื่อว่ารังสีอัลตราไวโอเลตจาก sunlamps ไม่เป็นอันตรายเนื่องจากให้รังสี UVA และอาจมีรังสี UVB เพียงเล็กน้อยซึ่งเป็นรังสีที่ครั้งหนึ่งคิดกันว่าเป็นอันตรายที่สุดอย่างไร ก็ตาม รังสี UVA สามารถทำอันตรายแก่ผิวหนังได้อย่างมาก อาจโยงเกี่ยวกับการเกิดมะเร็งผิวหนัง และ melanoma จากรายงานที่ไม่ได้ตีพิมพ์ในปี 1996 เรื่องวิเคราะห์ความเสี่ยงโดยนักวิทยาศาสตร์ของ US.FDA สรุปว่าผู้ที่ใช้ sunlamps ประมาณ 100 ครั้ง/ปี เป็นการเพิ่มการสัมผัสต่อรังสีที่ทำให้เกิด melanoma สูงถึง 24 เท่าเมื่อเทียบกับประมาณที่ได้รับจากแสงอาทิตย์ แต่ทั้งนี้ยังเกี่ยวกับชนิดของ sunlamps และชนิดของผลิตภัณฑ์ป้องกันแสงแดดที่ใช้ตามปกติอีกด้วย ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจึงแนะนำให้ประชาชนให้หลีกเลี่ยงการใช้ sunlamps สำหรับทำให้ผิวเป็นสีแทน แต่ sunlamps ยังคงมีอยู่โดยใช้แทนแสงอาทิตย์ ดังนั้นเพื่อความปลอดภัย US.FDA กำหนดคุณลักษณะของ sunlamps ดังนี้
     - มีเครื่องจับเวลา เพื่อจำกัดปริมาณของการสัมผัสแสงที่ผู้ใช้ได้รับ
     - มีปุ่มสำหรับปิด
     - มีฉลากแนะนำตำแหน่ง หรือระยะทางจาก sunlamps เพื่อลดความเสี่ยงจากการถูกแสงมากเกินไปเมื่อตั้งเวลาไว้ที่จุดสูงสุด
     - กำหนดปริมาณของรังสีคลื่นสั้นที่ออกมาจากเครื่อง
     - มีแว่นตากันลมชนิดขัดขวางแสง UV ซึ่งผู้ใช้ sunlamps ควรสวมตลอดเวลา
     - มีคำเตือนเห็นได้ชัดเจนเกี่ยวกับอันตรายจากการถูกแสงมากเกินไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ไวต่อรังสีอัลตราไวโอเลต
     - มีข้อมูลการใช้อย่างเหมาะสมM

     มีผลิตภัณฑ์หลายอย่างที่อ้าง สรรพคุณทำให้ผิวเป็นสีแทน โดยไม่ต้องกังวลต่ออันตรายจากรังสีอัลตราไวโอเลต ได้แก่
     ก. ยาเม็ดทำให้ผิวเป็นสีแทน ประกอบด้วย carotenoid ซึ่งได้จากสารคล้าย b-Carotene ซึ่งทำให้แครอทมีสีส้ม สีดังกล่าวจะกระจายทั่วร่างกายโดยเฉพาะผิวหนังทำให้ผิวหนังมีสีส้ม การกินยาเม็ดทำให้ผิวเป็นสีแทนมาก ๆ อาจเป็นอันตราย ตัวยาสำคัญในเม็ดทำให้ผิวสีแทนคือ canthaxanthin อาจสะสมเป็นผลักในตา ทำอันตรายหรือทำให้การมองเห็นเสื่อม US.FDA พิสูจน์ว่าสารเหล่านี้เป็นสีอาหารแต่ยังไม่ได้พิสูจน์ว่าเป็นสารทำให้ผิวสี แทน
     ข. Bronzers เป็นสารสำอางสำหรับทาภายนอก ทำจากสีที่รับรองโดย US.FDA สำหรับใช้ในเครื่องสำอาง ทาย้อมผิวหนัง และสามารถ
     ค. Extenders เมื่อทาผิวหนังจะทำปฏิกิริยากับโปรตีนที่ผิวหนังทำให้เกิดสี สีดังกล่าวจะลบออกหลังทา 2-3 วัน สีที่รับรองให้ใช้ได้เพียงสีเดียว คือ dihydroxyacetone อย่างไรก็ตามแม้ว่าผลิตภัณฑ์ตามข้อ ก. ข. และ ค. จะทำให้เกิดผิวหนังแทนแต่ไม่มีคุณสมบัติป้องกันแสง

ขั้นที่7 ตรวจผิวหนังประจำ
     ตรวจดูสภาวะผิวหนังก่อนเป็นมะเร็ง เช่น actinic keratosis ผิวหนังตกสะเก็ด แดง บวมเล็กน้อย และมะเร็งผิวหนัง การตรวจผิวหนังอย่างสม่ำเสมอ เมื่อพบอาการเร็วโอกาสรักษาหายจะมากยิ่งขึ้น เวลาที่ดีที่สุดสำหรับการตรวจผิวหนังคือ หลังการอาบน้ำ ควรทำความคุ้นเคยกับรอยตำหนิตั้งแต่เกิด เช่น ไฝ จุดด่าง เพื่อจะได้รู้ลักษณะโดยปกติและจะทำให้ทราบการเปลี่ยนแปลงได้โดยง่ายหากมีการ เปลี่ยนแปลงขนาด รูปร่าง ลักษณะ และสีของรอยตำหนิ นอกจากนี้ระหว่างการตรวจร่างกายทั่วไปควรขอให้แพทย์ตรวจผิวหนังด้วย

การตรวจผิวหนังตนเองประจำเดือนปฏิบัติดังนี้
     - ตรวจดูรูปร่างในกระจก ด้านหน้า ด้านหลัง ด้านซ้าย ด้านขวา โดยยกแขนทั้งสองข้างขึ้น
     - ตรวจดูหลังคอและหนังศีรษะ โดยใช้กระจกมือถือช่วย แยกส่วนของผม หรือใช้เครื่องเป่าผมช่วยยกผมขึ้น เพื่อช่วยให้มองได้ไกลขึ้น
     - ตรวจดูแผ่นหลัง และก้นด้วยกระจกมือถือ
     - งอข้อศอก และสำรวจส่วนของแขนระหว่างข้อศอกกับข้อมือ ท้องแขน และฝ่ามือ
     - ตรวจดูที่ด้านหลังของขาและเท้าทั้งสองข้าง ฝ่าเท้า และซอกนิ้วเท้า


     สรุปได้ว่าการปฏิบัติเพื่อการถูกแดดอย่างปลอดภัย โดยทำเป็นปกตินิสัย เพื่อให้ได้ผิวสีแทนอย่างมีสุขภาพดีทั้งจะช่วยรักษาสภาพและสีของผิวหนังตาม ธรรมชาติด้วย




ที่มาบทความจาก: กระทรวงสาธารณสุข

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

UVA UVB และ UVC คืออะไร

รีวิว ครีมกันแดด "Sunscreen Review"

วิธีเลือกซื้อครีมกันแดด